วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Business Analyst กับ System Analyst แตกต่างกันอย่างไร
ตำแหน่ง Business Analyst กับ System Analyst แตกต่างกันยังไง
Business Analyst ควรจะมีความรู้ความเข้าใจทั้งทางเทคนิค (หมายถึงงานคอม) และธุรกิจคะ แต่ออกจะหนักเรื่องธุรกิจมากกว่านิดนึงเพราะต้องคุยกับคนในโลกธุรกิจ เป็นงานกึ่งๆ ประสานงานระหว่างลูกค้า ที่มีแนวโน้มว่าจะไม่เข้าใจในเรื่องเทคนิคมากนัก กับคนที่ทำงานเทคนิ้ค เทคนิค แต่ก็มีงานวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน เพราะต้องแปลงความเป็นไปได้ทางธุรกิจให้เป็นงานเทคนิคแบบคร่าวๆ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ทางเทคนิคให้สอดคล้องกัน อาจต้องสร้างระบบในภาพใหญ่ๆ กว้างๆ เป็นกรอบงาน ถ้าให้พูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านก็คือ ผู้แปลงสาร จากภาษาธุรกิจเป็นภาษาดิจิตอล ถ้าเป็นงานคอม น่าจะเป็นตัวแปลงสารหรือ requirement ให้เป็นรหัสดิจิตอล 010101 งานนี้อาจเกี่ยวข้องกับงานด้านการเงินด้วย เพราะต้องเป็นคนวางบิลค่าบริการกับลูกค้าคะ ก่อนรับงานอาจจะต้องประเมินคร่าวๆ ว่าคุ้มกับการลงทุนที่จะรับงานนั้นๆ ไหมด้วย และอาจต้องกึ่งๆ เซลเล็กน้อย เพราะต้องทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในงานของเราด้วย นอกจากนี้ก็เป็นงานบริการอย่างหนึ่งด้วยคะ ลูกค้าจุกจิกอย่างไร หรือจะบ่นมากมายขนาดไหน เราก็ต้องทน ต้องแก้ไขปัญหากันไปคะ เพราะฉะนั้นต้องมีใจรักงานบริการด้วยอีกต่างหากคะ เรียกว่าต้องรอบจัดกันนิดนึงคะ
(งานส่วนนี้เกิดขึ้นจากความจริงที่ว่า บางครั้งคนที่มี Technical skills มากๆ อาจจะยากที่จะเข้าใจคนที่ไม่มี skill ด้านนี้เลยอย่างลูกค้าหรือ User และยากที่จะเข้าใจระบบงานด้านอื่นๆ อย่างเช่น บัญชี การเงิน เป็นต้น เพราะฉะนั้นงานส่วนนี้เกิดขึ้นเพื่อให้การทำงาน smooth ขึ้น และผลักดันให้ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ)
System Analyst ควรมีความรู้ความเข้าใจทางเทคนิคจริงๆ เพราะจะเป็นผู้วางระบบในภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้สอดประสานทำงานทางธุรกิจที่ลูกค้าต้องการได้สำเร็จ ถ้ามีความรู้ความเข้าใจทางด้านธุรกิจด้วยจะยิ่งเลิศ (บางบริษัทต้องการให้คนที่ทำงานตรงนี้ ขยับไปควบงาน Business Analyst ด้วย เรียกได้ว่าต้องการคนที่เป็นแบบ All-in-One) แต่ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งไรมากนักก็ได้ เพราะมีคนทำงานด้านนั้นให้แล้วก็คือ Business Analyst นั่นเอง คนทำงานข้างต้นจะเป็นคนมาช่วย Brief งาน บอกถึงความต้องการจริงๆ ของลูกค้าให้คนไอทีที่ในโลกนี้มีแต่รหัสดิจิตอล ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในภาษาของคนดิจิตอล เรียกได้ว่าให้ภาพรวมใหญ่ๆ เป็นกรอบคร่าวๆ ให้ เพื่อนำไปคิดวิเคราะห์สร้างระบบต่อไปให้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริงของลูกค้า จากนั้นคนที่ทำหน้าที่นี้ก็จะสร้างระบบในส่วนที่เป็น Technical อย่างแท้จริง และกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของระบบ จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาโปรแกรม (Programmers) ที่จะมาสร้างโปรแกรมย่อยๆ มากมายมาสนับสนุนระบบให้ใช้งานได้จริงๆ และมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า (บางบริษัท System Analyst = Programmer เรียกว่าใช้งานคุ้ม คนไทยเก่งซะอย่าง)
ข้อมูลเพิ่มเติม http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2009/04/B7738864/B7738864.html
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555
เปรียบเทียบ ฐานข้อมูลที่เราจะนำไปใช้ในการทำงาน ที่เรารู้จักกัน
เปรียบเทียบ ฐานข้อมูลที่เราจะนำไปใช้ในการทำงาน ที่เรารู้จักกัน
ระหว่าง access กับ mysql
access หมาะสำหรับระบบเล็กๆ ที่มีฐานข้อมูลไม่เยอะมาก เพราะสามารถสร้างแบบฟอร์ม เก็บข้อมูล และออก Report ได้ แต่ไม่เหมาะกับระบบขนาดใหญ่มากๆ เพราะฐานข้อมูลของ Access เก็บข้อมูลได้ไม่เยอะมากมีความสามารถน้อยกว่าแต่ใช้งานง่าย แทบไม่ต้องมีความรู้อะไรก็สร้างได้ครับสามารถออกแบบ DBMS ได้เลยเพราะ สามารถออกแบบ คิวรี่,ฟอร์ม,รีพอร์ต ได้อยู่แล้ว จึงทำให้แอสเซสสามารถจัดการทุกอย่างได้เบ็ตเสร็จในโปรแกรมเดียว และเอาไปใช้ที่อื่นได้ง่าย เพราะเก็บเป็นไฟล์ ส่วนตัวแอพพริเคชั่น จะมีเกือบทุกเครื่องเลยง่ายเวลาเอาไปใช้ที่อื่น แต่ถ้าาเป็น เอสคิวแอล ต้องเอาแอพพริเคชั่นที่เราสร้างขึ้นไปติดตั้ง ทุกเครื่อง มันเลยยุ่งยากนิดหนึ่ง แต่ดีอย่างที่เรา สามารถ เขียนด้วย พีเอชพีได้ เอาไปใช้ออนไลน์ไปเลยครับ
mysql มีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลได้ดีกว่า รองรับการใช้งานได้มากกว่า และมีความสามารถที่เก็บข้อมูลได้ดีกว่า ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่กว่า แต่ปัญหาคือ เราต้องมาออกแบบ DBMS เองโดยโปรแกรมอื่น เช่น VB.net ,PHP หรืออื่น เลยต้องมีความรู้ด้านอื่นด้วยพอสมควร
สรุปมาจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=57a37ebb5695b4dc อ่านต่อได้ที่นี้
ที่เราทำ เราใช้ access แต่ก็เจอปัญหาในหลายอย่างในช่วงหลังที่ทำโปรแกรม พอทำไปแล้วจะรู้ว่าควรใช้อะไรที่เหมาะกว่า แต่ตอนแรกที่เลือก ในเวลาที่จำกัด จึงเลือกใช้ในสิ่งที่เป็นและคุ้นเคย (แต่ถ้าจะให้เปลี่ยนคงไม่ทัน ) จึงแนะนำเพื่อนๆว่า ควรศึกษาให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาในการทำงาน และควรเริ่มทำในส่วนระบบตั้งแต่เนิ่นๆ
แนวทางในการจัดทำคู่มือการใช้งาน (User Manual)
นายภาณุวัฒน์ ง้วนประเสริฐ 52040797
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การเขียนคู่มือการใช้งาน เพราะเป็นสิ่งสำคัญหลังจากการส่งมอบระบบให้แก่ผู้ใช้งานแล้ว คู่มือการใช้งานจะเป็นสิ่งที่ต้องสามารถสื่อการกับผู้ใช้งานให้สามารถเข้าใจตรงกับผู้ออกแบบระบบได้ ดังนั้นเราควรรู้ว่าหลักการเขียนเป็นอย่างไร
แนวทางในการจัดทำคู่มือการใช้งาน
(User
Manual)
แนวทางที่ใช้จัดทำคู่มือการใช้งาน
มีหลักการคร่าวๆดังนี้
1.
เนื้อหาส่วนใหญ่ของคู่มือการใช้งาน
จะต้องเป็นการบรรยายขั้นตอนเพื่อให้ผู้ใช้ติดตามและดำเนินการตามขั้นตอนนั้นได้จนบรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้งานในครั้งหนึ่งๆ
ดังนั้นการบรรยายส่วนใหญ่จึงไม่ใช่การอธิบายทีละหน้าจอ
แต่เป็นการแบ่งหัวเรื่องให้ตรงตามความต้องการทำงานของผู้ใช้
2.
ควรมีการแบ่งส่วนของเนื้อหาในคู่มือ
ตามผู้ใช้เป็นส่วนๆ หมายถึงว่า ผู้ใช้ที่มีหน้าที่ที่ต่างกันโดยชัดเจน
สามารถเปิดค้นหาเนื้อหาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตนได้ในส่วน (section)หนึ่งๆ เช่น ถ้าระบบมีการแยกการใช้งาน
ผู้ดูแลระบบ (Admin) ผู้บริหาร และผู้ใช้ทั่วไปอย่างชัดเจน ก็ควรจัดทำคู่มือเป็น สำหรับ ผู้ดูแลระบบ สำหรับผู้บริหาร และสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เป็น 3
ส่วน (section) เป็นต้น
3.
ในกรณีที่มีรูปภาพหน้าจอประกอบ
และมีการอ้างถึงส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพหน้าจอนั้น ควรใช้ตัวอักษรในรูปแบบ (font) ต่างจากตัวอักษรที่ใช้ปกติ
4.
ในการแสดงผลการวิเคราะห์หรือการแสดงรายงานที่มีความซับซ้อน
สามารถสร้างเป็นหัวข้อเพื่ออธิบายวิธีการทำความเข้าใจกับผลการวิเคราะห์หรือรายงานนั้นได้
ในคู่มือการใช้งาน
phpMyAdmin คืออะไร
phpMyAdmin เป็นส่วนต่อประสานที่สร้างโดยภาษาพีเอชพี ซึ่งใช้จัดการฐานข้อมูล MySQL ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยสามารถที่จะทำการสร้างฐานข้อมูลใหม่ หรือทำการสร้าง TABLE ใหม่ๆ และยังมี function ที่ใช้สำหรับการทดสอบการ query ข้อมูลด้วยภาษา SQL พร้อมกันนั้น ยังสามารถทำการ insert delete update หรือแม้กระทั่งใช้ คำสั่งต่างๆ เหมือนกับกันการใช้ภาษา SQL ในการสร้างตารางข้อมูล
phpMyAdmin เป็นโปรแกรมประเภท MySQL Client ตัวหนึ่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล MySQL ผ่านweb browser ได้โดยตรง phpMyAdmin ตัวนี้จะทำงานบน Web server เป็น PHP Application ที่ใช้ควบคุมจัดการ MySQL Server ความสามารถของ phpMyAdmin คือ
1. สร้างและลบ Database
2. สร้างและจัดการ Table เช่น แทรก record, ลบ record, แก้ไข record, ลบ Table, แก้ไข field
3. โหลดเท็กซ์ไฟล์เข้าไปเก็บเป็นข้อมูลในตารางได้
4. หาผลสรุป (Query) ด้วยคำสั่ง SQL
อ้างอิง >> http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2285-phpmyadmin-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
สามารถเข้าไปชมวิธีการใช้งานได้ที่นี่ค่ะ >> http://support.loxinfo.co.th/tutorial.asp?where=hosting/mysql
น.ส. ศิริพร ประวิสารัตน์ 52040811
วิธีการรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
(นายภาณุวัฒน์ ง้วนประเสริฐ รหัส 52040797)
เราคิดว่าขั้นตอนที่สำคัญมากในการออกแบบระบบ คือ การรวบรวมข้อมูล จากบทความด้านล่างทำให้เรารู้ว่าการรวบข้อมูลนั้นเป็นการทำให้เราเข้าใจว่า ระบบงานเก่าเป็นอย่างไร? ตลอดจนความต้องการของผู้ใช้งานเป็นอย่างไร? เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบให้ออกมาตรงความต้องการของผู้ใช้งาน และยังทำให้เราทราบถึงปัญหาของระบงานเก่า เพื่อที่จะออกแบบระบบให้สามารถกำจัดปัญหาที่มีในระบบงานเก่าได้
วิธีการรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
เมื่อมีแบบฟอร์มและรายงานอยู่ในมือแล้วจึงเริ่มศึกษาเอกสารต่างๆ ของระบบ รวมทั้งวิธีการทำงานของระบบ โปรแกรมที่มีอยู่ ไฟล์ข้อมูล และการเชื่อมโยงของไฟล์ ปัญหาก็คือเอกสารวิธีการทำงานของระบบนั้นทันสมัยมากน้อยแค่ไหน หรือมีการเก็บเอกสารเหล่านั้นหรือไม่ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำถัดไป คือ สังเกตการณ์ทำงานจริงด้วยตนเองจะทำให้เราทราบว่าการทำงานจริง ๆ ในระบบเป็นอย่างไร
ก่อนที่จะเริ่มสังเกตการณ์ นักวิเคราะห์ระบบต้องขออนุญาตจากผู้ที่เราจะสังเกตการทำงานของเขา รวมทั้งผู้บังคับบัญชาด้วย ระหว่างการสังเกตการณ์เราจะต้องอยู่ห่างๆ จากการทำงานและจะต้องไม่ขัดขวางการทำงานของเขา แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้ คือ ผู้ที่อยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ของเราจะทำงานไม่ปกติเหมือนเวลาที่เขาทำตามปกติ อาจจะทำมากเกินไปทำงานด้วยความประหม่า หรือทำด้วยความระมัดระวังมากกว่าปกติ วิธีที่ดีที่สุด คือ ลงมือทำด้วยตัวเอง ทำให้เข้าใจการทำงานดีกว่าการสังเกตการณ์เท่านั้น
นี้เป็นเพียงบางส่วนของบทความ เพื่อนๆสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5012/P_3/System%20Analysis%20and%20Design/B5.htm
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
เปรียบเทียบระหว่าง C#.net vs VB.net
ถ้าจะถามว่า ภาษาบน .NET Framework ที่ชอบมากที่สุด คือ ภาษาอะไร คำตอบที่แน่นอนอยู่แล้ว ก็คือ VB.NET แต่ผู้อ่านหลายท่านก็เลือก C# เป็นคำตอบ เอาเป็นว่าเรื่องที่ว่า VB.NET กับ C# ภาษาไหนดีกว่ากันนั้น ตอบยาก เพราะมันมีหลายปัจจัยให้พิจารณา เช่น พื้นฐานภาษาของผู้พัฒนา, ประเภทของซอฟต์แวร์ที่จะพัฒนา, ข้อจำกัดเวลาในการพัฒนา เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้จะพยายามนำมาเสนอบ่อยๆ ตามแต่จะมีโอกาศ
สำหรับวันนี้ขอนำเสนอข้อมูล ของอาจารย์สุเทพ ที่เขียนตอบเรื่อง เปรียบเทียบ C#.net กับ vb.net ไว้ใน Software Development Discussion Board อย่างน่าสนใจ จึงขอนำข้อมูลนั้นมาเสนอไว้ให้อ่านกัน และจะเสริมข้อมูลเพิ่มในภายหลัง
"... เปรียบเทียบ C#.net กับ vb.net
สำหรับวันนี้ขอนำเสนอข้อมูล ของอาจารย์สุเทพ ที่เขียนตอบเรื่อง เปรียบเทียบ C#.net กับ vb.net ไว้ใน Software Development Discussion Board อย่างน่าสนใจ จึงขอนำข้อมูลนั้นมาเสนอไว้ให้อ่านกัน และจะเสริมข้อมูลเพิ่มในภายหลัง
"... เปรียบเทียบ C#.net กับ vb.net
การเลือกระหว่างภาษา C#.Net และ VB.Net มักเป็นข้อที่หลายคนคิดในช่วงวางแผนก่อนที่จะเริ่ม ลงทุนลงแรงเพื่อศึกษาและนำมาใช้ในการพัฒนาระบบขึ้นมา
ข้อเสนอแนะอย่างง่ายที่สุดของไมโครซอฟต์ ก็คือว่าเรามีความชำนาญ มีความคุ้นเคย ชอบพอกับภาษาใดมาก่อน ก็ให้เลือกภาษาที่เป็นแนวเดียวกันนั้น เนื่องจากทุกภาษาใน .Net จะถูกแปลเป็นภาษา Microsoft Intermediate Language (MSIL) โดยเฉพาะสองภาษา ที่จะเปรียบเทียบกันนี้ ถ้าเขียนโค้ด VB.Net อย่างถูกต้องดี รหัส MSIL ที่ได้ ก็แทบจะเหมือนกันเลย ดังนั้น performance ของงานที่ได้ ก็จะไม่แตกต่างกัน นี่เป็นการยกระดับงาน Visual Basic เป็นอย่างมาก แล้วการที่ VB.Net ใช้ Base Class Library ของ .Net framework ร่วมกันกับ C# ก็ทำให้ VB.Net programmer ถือเป็น first-class citizen ไปแล้ว
การเขียนโค้ด VB.Net อย่างถูกต้องดี เช่นมีการใช้ Option Strict On หรือมีการใช้ DirectCast แทนที่จะใช้ CType เป็นต้น.
รายละเอียดการเปรียบเทียบสองภาษา ในข้อความนี้ รวบรวมประมวลมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งอาจจะต้องมีการพูดถึงศัพท์หรือเทคนิคลึกๆ บ้างเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์นะครับ
ดูข้อดีของ Visual Basic .Net
- รองรับ Optional argument ซึ่งสำคัญมากที่คุณต้องการใช้งานร่วมกับ ActiveX component หรือการเขียนโค้ดชนกับพวก Office
- ทำตัวไม่ซีเรียสได้ คือยอมรับการทำ late-binding ได้ ถ้าไม่กำหนด Option Strict On การเขียนโค้ดพวกนี้ใช้กับพวก ActiveX อีกนั่นเอง (ผมแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเขียนโค้ดแบบ late-binding ใน .Net)
- รองรับการทำ named indexer (การสร้าง property ที่มี argument)
- มีคำสั่ง VB แบบเดิมๆ เช่น Left, Mid, UCase, ... ให้ใช้ง่ายๆ สำหรับผู้ใช้ VB6 มาก่อน (การเรียกใช้ฟังก์ชันแบบเดิมๆ นี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพของโปรแกรม)
- มีประโยค With..End With ให้ใช้
- ความเรียบง่าย เช่นการสร้างประโยค Event
- สามารถกำหนดชื่อเมธอดของการ implements interface ที่ต่างจากที่กำหนดไว้ใน interface ได้ (ผมว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์เลย ทำให้ยุ่งยากในการค้นหาเสียมากกว่า)
- มีประโยค Catch...When... ทำให้สามารถทำการ filter exception ด้วยเงื่อนไขได้ นอกเหนือจากการ filter ด้วยชนิดของ exception เท่านั้น
- Visual Studio .Net จะทำการ compile โค้ดในลักษณะ background ซึ่งช่วยเป็นข้อดีในโปรเจ็กต์ขนาดเล็ก แต่ถ้าโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่มหึมา จะกลับเป็นข้อเสียอย่างมาก (มีฝรั่งหลายคนบ่นว่าต้องถึงกับต้องยอมเปลี่ยนจาก VB.Net มาเป็น C# เลย ในโปรเจ็กต์ที่มีไฟล์มีคลาสเป็นพันๆ)
ข้อดีของ C# .Net
- รองรับ XML documentation คล้ายๆ javadoc คือเอาคอมเม้นต์ในโค้ดมาแปลงเป็นเอกสาร technical manual ได้เลย แต่ใน VB.Net เวอร์ชั่น 2005 (Whidbey) ก็จะรองรับในคุณสมบัตินี้ด้วย
- สามารถทำ operator overloading ได้ (VB.Net 2005 ก็จะทำได้เช่นกัน)
- รองรับ unsigned datatype (VB.Net 2005 ก็จะทำได้เช่นกัน)
- มีประโยค using เพื่อใช้จัดการกับ resource ที่เป็นแบบ unmanaged
- รองรับ unsafe code
สังเกตได้ว่า อะไรที่ใน C# มี ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ใน VB.Net เวอร์ชันถัดไป ก็จะมีด้วย แต่มักจะถูกนำมาแสดงในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ แต่อะไรที่ VB.Net มี มักจะไม่ถูกนำไปเพิ่มให้กับ C# เช่นรูปแบบการสร้าง event ที่เรียบง่าย อย่างประโยค Handles หรือคีย์เวิร์ด My ที่จะมีใน VB.Net Whidbey (คิดว่าใน C# อาจจะไม่มี) หรือ Optional argument (ใน C# แก้ปัญหานี้ด้วยการทำ overloading แต่ก็จะไม่สามารถใช้งานร่วมกับ ActiveX component แบบเดิมได้อยู่ดี)
ถ้าขนาดของโปรเจ็กต์ที่คุณคิดว่าจะต้องทำในอนาคตใหญ่มากๆ ก็ควรจะเลือก C# ไปเสียแต่แรกเลย เว้นแต่จะมีวิธีแก้ปัญหา IDE ที่ช้ามากๆ เมื่อมีไฟล์จำนวนมากของ VB.Net ได้
เขาว่าภาษา VB.Net เป็น 4GL (ภาษา Generation ที่สี่) แต่ภาษา C# ถูกวางเป็น 3GL กว่าๆ คือสูงกว่า 3GL เช่น C++ แต่ไม่ถึง 4GL
ถ้าเอาความอย่างที่ Microsoft วาง position ไว้
ภาษา VB .Net เป็น task-oriented
ภาษา C# .Net เป็น code-focused
ถ้าเอามาสร้าง application ทางธุรกิจ ภาษา VB.Net จะเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมอย่างปฏิเสธไม่ได้ เนื่องจากแทนที่โปรแกรมเมอร์จะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องลึกๆ ที่เรียนกันในวิชาของพวก computer science กันบ่อยๆจึงเรียกว่ามี productivity ดี เพราะเอาเวลามาสร้างงานเลย
แต่นั่นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่า ถ้าใช้ C# ศัพท์แสงในเนื้อภาษาจะเป็นศัพท์แบบที่ใช้ในวงการ computer science เช่น abstract, static เป็นต้น ซึ่งจะจำเป็นถ้าต้องมีการใช้เครื่องมืออย่างพวก Rational Rose หรือ Modeling tools อื่นๆ
สิ่งที่รวบรวมมารวมกับความคิดเห็นเพิ่มเติมบางอย่างนี้เข้าไปมีทั้งด้าน รูปแบบภาษา การใช้งานจริง และแฟกเตอร์อื่นๆ อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง ถ้ามีก็ช่วยบอกเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมต่อไปนะครับ..."
และมีข้อมูลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ถ้านำนักพัฒนาที่ถนัดภาษา VB.NET มาจับเขียนภาษา C# (แบบไม่ให้เตรียมตัวนะครับ) จะพบว่าสามารถเขียนได้จำนวนมาก แต่ถ้านำนักพัฒนาที่ถนัดภาษา C# มาจับเขียนภาษา VB.NET กลับพบว่ามีจำนวนน้อยที่เขียนได้ ผมสันนิษฐานว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่ใไหนฉลาดกว่ากัน แต่เป็นเพราะความสนใจมากกว่า ผมว่านักพัฒนาที่ถนัด C# จะไม่เปิดใจรับภาษา VB.NET ว่าเป็นพี่น้องกันใน .NET Framework เลย
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
หลักการออกแบบหน้าจอ
การออกแบบหน้าจอเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการออกแบบโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยครั้งนี้จะนำเสนอหลักการออกแบบหน้าจอในส่วนขององค์ประกอบด้านข้อความ มีรายละเอียดดังนี้
องค์ประกอบด้านข้อความ
ข้อความ จัดเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การออกแบบข้อความที่ดี ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงองค์ประกอบย่อยหลายด้าน เช่น รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ความหนาแน่นตัวอักษร สีของข้อความและการจัดความสัมพันธ์ข้อความและภาพให้สอดคล้องกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ภาพ และกราฟิกบนหน้าจอ รูปแบบและขนาดตัวอักษร การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงระดับของผู้เรียนเป็นหลัก กล่าวคือผู้เรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์กลุ่มผู้อ่านช้า (Poor reader) ขนาดของตัวอักษรต้องใหญ่กว่าผู้เรียนในกลุ่มที่อ่านคล่อง การใช้ตัวอักษรใหญ่เกินไปทำให้การอ่านช้าลง เนื่องจากการที่ผู้อ่านต้องกวาดสายตาไปไกล หากตัวอักษรมีขนาดเล็กเกินไปอาจทำให้ผู้เรียน แม้จะเป็นผู้ที่อ่านคล่อง ก็อาจทำให้การอ่าน และการทำความเข้าใจมีประสิทธิภาพน้อยลงได้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พบว่าผู้อ่านจะใช้เวลาในการอ่านตัวอักษรตัวพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาต่างๆ ขนาด 80 ตัวอักษรต่อบรรทัด น้อยกว่า การอ่านตัวอักษรขนาด 40 ตัวอักษรต่อบรรทัด ในขณะที่ความเข้าใจจากการอ่านตัวอักษรทั้ง 2ขนาดไม่แตกต่างกัน และขนาดของตัวอักษร (ภาษาอังกฤษ) กับการใช้ขนาดหัวเรื่องควรอยู่ระหว่าง 19-37 พอยต์ ในขณะที่ตัวหนังสือปกติมีขนาดประมาณ 12-19 พอยต์ ส่วนรูปแบบของตัวอักษรควรใช้ตัวที่อ่านง่าย แต่หากตัวอักษรที่ไม่ใช่ส่วนของเนื้อหาหลัก เช่น ตัวอักษรหัวเรื่องใหญ่ตัวอักษรประกอบการออกแบบ หรือตัวอักษรพิเศษอื่นๆ ผู้ออกแบบอาจใช้ตัวอักษรูปแบบและขนาดต่างๆ กันออกไปได้ แต่ไม่ควรมีความหนาแน่นของตัวอักษรมากเกินไป รูปแบบและขนาดตัวอักษรจะมีความสัมพันธ์กับช่องว่างระหว่างบรรทัดและระหว่างคำด้วย ช่องว่างระหว่างบรรทัดที่เหมาะสมจะช่วยให้อ่านง่ายขึ้น แต่หากช่องว่างดังกล่าวมากเกินไปก็จะทำให้สูญเสียความต่อเนื่องของมโนทัศน์ หลักการทั่วไปคือช่องว่างระหว่างบรรทัดนอกจากจะมีขนาดเหมาะสมแล้ว ควรมีความสม่ำเสมอตลอดการนำเสนอด้วย ความหนาแน่นของตัวอักษร ส่วนใหญ่จะรวมถึงความหนาแน่นขององค์ประกอบอื่นบนจอภาพเข้าไปด้วย ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนจะชอบจอภาพที่มีความหนาแน่นปานกลาง หรือประมาณ 40% ของพื้นที่หน้าจอมากที่สุด และจะเลือกจอภาพที่มีความหนาแน่นสูง หรือประมาณ 50% ของพื้นที่หน้าจอ มากกว่าจอภาพที่มีความหนาแน่นต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าในวิชาที่มีเนื้อหายาก ผู้เรียนจะชอบจอภาพที่มีความหนาแน่นสูง เนื่องจากจอภาพที่มีความหนาแน่นขององค์ประกอบต่างๆ สูง จะมีข้อมูลที่ช่วยให้ความเข้าใจเนื้อหาและแนวคิดหลักต่างๆ ชัดเจนและต่อเนื่องขึ้น สีข้อความ เป็นองค์ประกอบหน้าจอ ที่ช่วยกระตุ้นความน่าสนใจในการอ่าน สีเป็นตัวกระตุ้นประสาทการรับรู้ที่สำคัญ การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยให้อ่านง่าย และสบายตา การกำหนดสีข้อความต้องพิจารณาสีพื้นหลังประกอบเสมอ ซึ่งจะเรียกว่าคู่สี คู่สีบางคู่สามารถใช้ร่วมกันได้ บางคู่ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกัน ผลงานวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ชอบคู่สีอักษรขาวหรือเหลืองบนพื้นน้ำเงิน อักษรเขียวบนพื้นดำ และอักษรดำบนพื้นเหลือง หากใช้พื้นเป็นสีเทา คู่สีที่ผู้เรียนชอบคือ สีฟ้า สีแดง สีม่วง และสีดำ สีที่ชอบน้อยคือสีส้ม สีม่วงแดง สีเขียว และสีแดง แม้งานวิจัยชิ้นนี้จะทำขึ้นในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1991 ซึ่งขณะนั้นจอภาพสามารถแสดงได้เพียง 16 สี (ขณะนี้จอภาพแสดงได้เป็นล้านสี) แต่คู่สีหลักๆ ดังกล่าวยังคงสามารถใช้อ้างอิงในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ หลักการออกแบบคู่สีที่ควรต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง คือ ควรใช้พื้นหลังเป็นสีเข้มมากกว่าสีอ่อน เนื่องจากสีเข้มจะช่วยลดแสงสว่างจากจอภาพ ทำให้รู้สึกสบายตามากกว่าการใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง ซึ่งระยะยาวจะช่วยลดความล้าของสายตา ในการอ่านจอภาพอันเนื่องมาจากความจ้าของสีพื้น ปัจจุบันการออกแบบสีพื้นหลังได้รับการพัฒนาไปเร็วมาก เนื่องจากประสิทธิภาพในการประมวลผลและการแสดงผลของคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นเร็วมาก การออกแบบสื่อมัลติมีเดียทั่วไปขณะนี้มีการออกแบบพื้นหลังให้มีพื้นผิวที่มีลวดลายมีมิติ และใช้เทคนิคในการออกแบบอย่างเต็มรูปแบบ ในการเลือกสีของตัวอักษรและขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสม จึงควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน สีของตัวอักษรซึ่งมองดูชัดเจนบนพื้นสีหน้าจอบริเวณหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมหรืออ่านยากบนพื้นสีหน้าจอเดียวกันแต่คนละบริเวณกันก็เป็นไปได้ การวางรูปแบบข้อความ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับข้อความบนจอภาพประการหนึ่งคือ การวางรูปแบบข้อความ เทคนิคในการนำเสนอข้อความให้อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ ทำได้หลายวิธี ผู้ออกแบบสามารถนำเสนอข้อความทีละส่วน ทีละตอน หรือเสนอข้อความทั้งหมดในคราวเดียวกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคการนำเสนอที่เหมาะสม เช่น ในการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ต้องบรรจุอยู่ในจอภาพเดียวกัน ผู้ออกแบบอาจเสนอทีละขั้นโดยผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการนำเสนอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจเนื้อหาข้อความดีกว่าการนำเสนอทั้งหมดพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเสนอข้อความทีละส่วนหรือพร้อมกันทั้งหมด โดยภาพรวมแล้วการออกแบบหน้าจอจะต้องมีความเหมาะสมและน่าอ่าน ซึ่งเป็นหลักการออกแบบงานกราฟิกทั่วไป ที่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้
- ความสมดุลของหน้าจอโดยรวม (Balance) การเฉลี่ยน้ำหนักขององค์ ประกอบบนจอภาพ ซ้าย ขวา บน ล่าง อย่างเหมาะสมนี้ ผู้ออกแบบจะจัดให้มีความสมดุลแบบแบ่งครึ่งซ้ายขวาเท่ากัน หรือการจัดภาพหรือองค์ประกอบที่ซ้ายขวาไม่เท่ากัน แต่ดูแล้วสมดุลกันก็ได้ องค์ประกอบที่จะช่วยในการจัดสมดุลของจอภาพนี้ คือ รายละเอียดทุกอย่างที่เรามองเห็นในกรอบจอภาพ เช่น โทนสี ขนาดภาพ ตำแหน่งของภาพ/คำ ช่องว่าง การฟิกประกอบหน้าจอ ประมาณข้อความ ความแน่นของภาพ/ข้อความ และการให้แสงสี
- ความเรียบง่าย (Simplicity) เป็นสมบัติสำคัญของการออกแบบสื่อทุกประเภทซึ่งออกแบบได้ไม่ยาก แต่การออกแบบให้มีความเรียบง่ายและน่าสนใจด้วยนั้นทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบข้อความ ปัจจุบันการออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบของกราฟิกในรูปแบบต่างๆ กันเกี่ยวข้องด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวาด และอื่นๆ โดยยังมีข้อความเป็นองค์ประกอบหลัก "ความเรียบง่าย" โดยทั่วไปจึงมักกล่าวโดยรวมซึ่งหมายถึง การออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ผู้ออกแบบได้จัดผสมผสานองค์ประกอบร่วมต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบ อ่านง่าย เข้าใจง่าย และผู้เรียนได้รับความรู้หรือเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อนๆ สามารถศึกษาข้อมูลการออกแบบส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่
http://www.learners.in.th/blogs/posts/22912
องค์ประกอบด้านข้อความ
ข้อความ จัดเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การออกแบบข้อความที่ดี ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงองค์ประกอบย่อยหลายด้าน เช่น รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ความหนาแน่นตัวอักษร สีของข้อความและการจัดความสัมพันธ์ข้อความและภาพให้สอดคล้องกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ภาพ และกราฟิกบนหน้าจอ รูปแบบและขนาดตัวอักษร การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงระดับของผู้เรียนเป็นหลัก กล่าวคือผู้เรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์กลุ่มผู้อ่านช้า (Poor reader) ขนาดของตัวอักษรต้องใหญ่กว่าผู้เรียนในกลุ่มที่อ่านคล่อง การใช้ตัวอักษรใหญ่เกินไปทำให้การอ่านช้าลง เนื่องจากการที่ผู้อ่านต้องกวาดสายตาไปไกล หากตัวอักษรมีขนาดเล็กเกินไปอาจทำให้ผู้เรียน แม้จะเป็นผู้ที่อ่านคล่อง ก็อาจทำให้การอ่าน และการทำความเข้าใจมีประสิทธิภาพน้อยลงได้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พบว่าผู้อ่านจะใช้เวลาในการอ่านตัวอักษรตัวพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาต่างๆ ขนาด 80 ตัวอักษรต่อบรรทัด น้อยกว่า การอ่านตัวอักษรขนาด 40 ตัวอักษรต่อบรรทัด ในขณะที่ความเข้าใจจากการอ่านตัวอักษรทั้ง 2ขนาดไม่แตกต่างกัน และขนาดของตัวอักษร (ภาษาอังกฤษ) กับการใช้ขนาดหัวเรื่องควรอยู่ระหว่าง 19-37 พอยต์ ในขณะที่ตัวหนังสือปกติมีขนาดประมาณ 12-19 พอยต์ ส่วนรูปแบบของตัวอักษรควรใช้ตัวที่อ่านง่าย แต่หากตัวอักษรที่ไม่ใช่ส่วนของเนื้อหาหลัก เช่น ตัวอักษรหัวเรื่องใหญ่ตัวอักษรประกอบการออกแบบ หรือตัวอักษรพิเศษอื่นๆ ผู้ออกแบบอาจใช้ตัวอักษรูปแบบและขนาดต่างๆ กันออกไปได้ แต่ไม่ควรมีความหนาแน่นของตัวอักษรมากเกินไป รูปแบบและขนาดตัวอักษรจะมีความสัมพันธ์กับช่องว่างระหว่างบรรทัดและระหว่างคำด้วย ช่องว่างระหว่างบรรทัดที่เหมาะสมจะช่วยให้อ่านง่ายขึ้น แต่หากช่องว่างดังกล่าวมากเกินไปก็จะทำให้สูญเสียความต่อเนื่องของมโนทัศน์ หลักการทั่วไปคือช่องว่างระหว่างบรรทัดนอกจากจะมีขนาดเหมาะสมแล้ว ควรมีความสม่ำเสมอตลอดการนำเสนอด้วย ความหนาแน่นของตัวอักษร ส่วนใหญ่จะรวมถึงความหนาแน่นขององค์ประกอบอื่นบนจอภาพเข้าไปด้วย ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนจะชอบจอภาพที่มีความหนาแน่นปานกลาง หรือประมาณ 40% ของพื้นที่หน้าจอมากที่สุด และจะเลือกจอภาพที่มีความหนาแน่นสูง หรือประมาณ 50% ของพื้นที่หน้าจอ มากกว่าจอภาพที่มีความหนาแน่นต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าในวิชาที่มีเนื้อหายาก ผู้เรียนจะชอบจอภาพที่มีความหนาแน่นสูง เนื่องจากจอภาพที่มีความหนาแน่นขององค์ประกอบต่างๆ สูง จะมีข้อมูลที่ช่วยให้ความเข้าใจเนื้อหาและแนวคิดหลักต่างๆ ชัดเจนและต่อเนื่องขึ้น สีข้อความ เป็นองค์ประกอบหน้าจอ ที่ช่วยกระตุ้นความน่าสนใจในการอ่าน สีเป็นตัวกระตุ้นประสาทการรับรู้ที่สำคัญ การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยให้อ่านง่าย และสบายตา การกำหนดสีข้อความต้องพิจารณาสีพื้นหลังประกอบเสมอ ซึ่งจะเรียกว่าคู่สี คู่สีบางคู่สามารถใช้ร่วมกันได้ บางคู่ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกัน ผลงานวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ชอบคู่สีอักษรขาวหรือเหลืองบนพื้นน้ำเงิน อักษรเขียวบนพื้นดำ และอักษรดำบนพื้นเหลือง หากใช้พื้นเป็นสีเทา คู่สีที่ผู้เรียนชอบคือ สีฟ้า สีแดง สีม่วง และสีดำ สีที่ชอบน้อยคือสีส้ม สีม่วงแดง สีเขียว และสีแดง แม้งานวิจัยชิ้นนี้จะทำขึ้นในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1991 ซึ่งขณะนั้นจอภาพสามารถแสดงได้เพียง 16 สี (ขณะนี้จอภาพแสดงได้เป็นล้านสี) แต่คู่สีหลักๆ ดังกล่าวยังคงสามารถใช้อ้างอิงในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ หลักการออกแบบคู่สีที่ควรต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง คือ ควรใช้พื้นหลังเป็นสีเข้มมากกว่าสีอ่อน เนื่องจากสีเข้มจะช่วยลดแสงสว่างจากจอภาพ ทำให้รู้สึกสบายตามากกว่าการใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง ซึ่งระยะยาวจะช่วยลดความล้าของสายตา ในการอ่านจอภาพอันเนื่องมาจากความจ้าของสีพื้น ปัจจุบันการออกแบบสีพื้นหลังได้รับการพัฒนาไปเร็วมาก เนื่องจากประสิทธิภาพในการประมวลผลและการแสดงผลของคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นเร็วมาก การออกแบบสื่อมัลติมีเดียทั่วไปขณะนี้มีการออกแบบพื้นหลังให้มีพื้นผิวที่มีลวดลายมีมิติ และใช้เทคนิคในการออกแบบอย่างเต็มรูปแบบ ในการเลือกสีของตัวอักษรและขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสม จึงควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน สีของตัวอักษรซึ่งมองดูชัดเจนบนพื้นสีหน้าจอบริเวณหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมหรืออ่านยากบนพื้นสีหน้าจอเดียวกันแต่คนละบริเวณกันก็เป็นไปได้ การวางรูปแบบข้อความ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับข้อความบนจอภาพประการหนึ่งคือ การวางรูปแบบข้อความ เทคนิคในการนำเสนอข้อความให้อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ ทำได้หลายวิธี ผู้ออกแบบสามารถนำเสนอข้อความทีละส่วน ทีละตอน หรือเสนอข้อความทั้งหมดในคราวเดียวกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคการนำเสนอที่เหมาะสม เช่น ในการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ต้องบรรจุอยู่ในจอภาพเดียวกัน ผู้ออกแบบอาจเสนอทีละขั้นโดยผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการนำเสนอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจเนื้อหาข้อความดีกว่าการนำเสนอทั้งหมดพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเสนอข้อความทีละส่วนหรือพร้อมกันทั้งหมด โดยภาพรวมแล้วการออกแบบหน้าจอจะต้องมีความเหมาะสมและน่าอ่าน ซึ่งเป็นหลักการออกแบบงานกราฟิกทั่วไป ที่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังนี้
- ความสมดุลของหน้าจอโดยรวม (Balance) การเฉลี่ยน้ำหนักขององค์ ประกอบบนจอภาพ ซ้าย ขวา บน ล่าง อย่างเหมาะสมนี้ ผู้ออกแบบจะจัดให้มีความสมดุลแบบแบ่งครึ่งซ้ายขวาเท่ากัน หรือการจัดภาพหรือองค์ประกอบที่ซ้ายขวาไม่เท่ากัน แต่ดูแล้วสมดุลกันก็ได้ องค์ประกอบที่จะช่วยในการจัดสมดุลของจอภาพนี้ คือ รายละเอียดทุกอย่างที่เรามองเห็นในกรอบจอภาพ เช่น โทนสี ขนาดภาพ ตำแหน่งของภาพ/คำ ช่องว่าง การฟิกประกอบหน้าจอ ประมาณข้อความ ความแน่นของภาพ/ข้อความ และการให้แสงสี
- ความเรียบง่าย (Simplicity) เป็นสมบัติสำคัญของการออกแบบสื่อทุกประเภทซึ่งออกแบบได้ไม่ยาก แต่การออกแบบให้มีความเรียบง่ายและน่าสนใจด้วยนั้นทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบข้อความ ปัจจุบันการออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบของกราฟิกในรูปแบบต่างๆ กันเกี่ยวข้องด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวาด และอื่นๆ โดยยังมีข้อความเป็นองค์ประกอบหลัก "ความเรียบง่าย" โดยทั่วไปจึงมักกล่าวโดยรวมซึ่งหมายถึง การออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ผู้ออกแบบได้จัดผสมผสานองค์ประกอบร่วมต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบ อ่านง่าย เข้าใจง่าย และผู้เรียนได้รับความรู้หรือเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อนๆ สามารถศึกษาข้อมูลการออกแบบส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่
http://www.learners.in.th/blogs/posts/22912
ระบบรักษาความปลอดภัยและความถูกต้องของระบบงาน
ระบบรักษาความปลอดภัยและความถูกต้องของระบบงาน
ไม่ว่าจะเป็นระบบงานคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ก็ตาม ที่ต้องการให้มีการรักษาความปลอดภัยนั้นมิได้หมายความว่า เมื่อเรามีการรักษาความปลอดภัยแล้ว ความปลอดภัยนั้นจะเกิดกับเราร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นก็คือ ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยใดๆ ในโลกที่สมบูรณ์แท้จริง
แม้ว่าจะไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์ที่จะป้องกันอันตรายทุกๆ อย่างได้ก็ตาม แต่ว่าระบบรักษาความปลอดภัยสามารถที่จะทำให้ได้ในระดับหนึ่ง ที่ผู้ใช้ระบบคิดว่าเพียงพอสำหรับเขา และเหมาะสมแล้วเมื่อเทียบกับงบประมาณต่างๆ ที่ได้ลงทุน
ดังนั้น การมีระบบรักษาความปลอดภัย (Security) จึงเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับที่ทั้งนักวิเคราะห์และผู้ใช้ระบบคิดว่าเหมาะสมแล้ว ระบบรักษาความปลอดภัยในระบบงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้คือ
1. ระบบรักษาความปลอดภัยภายนอกระบบงาน (Physical Security)
ระบบรักษาความปลอดภัยในส่วนนี้จะกระทำกันภายนอกระบบงานคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การล็อกห้องคอมพิวเตอร์เมื่อเลิกงานหรือการล็อกคีย์บอร์ดและ CPU เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ หรือในระบบ LAN อาจใช้เทอร์มินอลแบบไม่มีดิสก์ (Diskless Terminal) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สามารถทำการก๊อปปี้ข้อมูลจากไฟล์เซอร์เวอร์ที่เก็บข้อมูลส่วนกลางได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะป้องกันการนำเอาข้อมูลหรือโปรแกรมที่ไม่ได้อนุม้ติให้ใช้ก๊อปปี้ลงไป ซึ่งอาจจะเป็นการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ดีอีกวิธีหนึ่งด้วย ดังนั้น การกระทำอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับระบบงาน แต่เกิดขึ้นภายนอก ก็ถือว่าเป็นระบบรักษาความปลอดภัยแบบกายภาพ (Physical) ทั้งสิ้น
2. ระบบรักษาความปลอดภัยภายในระบบงาน (System Security And Integrity)
ในปัจจุบันระบบงานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายได้ทำให้การใช้ข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อน การกระจายอำนาจการใช้ข้อมูลออกไป (Distribution System) ของระบบงาน ทำให้ระบบจำเป็นที่จะต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยภายในระบบงานอย่างดีพอด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้ข้อมูล สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากนี้นักวิเคราะห์ระบบยังต้องให้ความสนใจต่อความถูกต้อง (Integrity) ของระบบ เช่น ระบบงานต่างๆ โปรแกรมและฐานข้อมูลอีกด้วย ในที่นี้เราจะกล่าวถึงวิธีที่นิยมทำกันโดยทั่วไป ซึ่งมี 4 วิธี คือ
2.1 การใช้รหัสลับ (Passwords) เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปทำงานในระบบนั้นๆ ได้ ระบบก็จะปฏิเสธ การยอมให้เข้าถึงข้อมูลของระบบโดยอัตโนมัติ
2.2 การสำรองข้อมูล (System Backups) ในทุกระบบงานที่ดี การวางตารางเวลาเพื่อการสำรองข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะป้องกันปัญหาของการสูญเสียข้อมูลในกรณีที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
2.3 การตรวจสอบได้ของระบบ (Audit Trail) ระบบงานที่ดีควรได้รับการดีไซน์ให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบสามารถที่จะตรวจสอบย้อนกลับได้ ว่าเกิดได้อย่างไร มาจากไหน วิธีที่นิยมใช้กันก็คือ การออกรายงานหรือ Check List ต่างๆ ที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไขหรืออินพุตเข้ามาในระบบ เอกสารต่างๆ เหล่านี้จะมีความจำเป็นอย่างมากต่อการตรวจสอบความถูกต้องของการทำงานของระบบงานคอมพิวเตอร์
2.4 การเรียกคืนข้อมูลและเริ่มต้นใหม่ของระบบ (Recovery And Restart Needs) ในระบบงานคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นักวิเคราะห์ระบบหรือโปรแกรมเมอร์ทุกคนรู้ดีว่าหากไฟฟ้าดับหรือเกิดการลัดวงจรหรือฟ้าผ่าเข้ามาในสายไฟฟ้า จะส่งผลทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบเกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อระบบงานเกิดความเสียหาย (Crash) ขึ้น การนำเอาข้อมูลที่ได้สำรองเอาไว้ และการเรียกคืนข้อมูล (Restore Data) เพื่อจะทำให้ระบบฟื้นคืนชีพกลับมาใหม่อาจต้องเกิดขึ้น
เหล่านี้จึงเป็นหน้าที่ของนักวิเคราะห์ที่จะต้องวางแผนงานของการเรียกคืนข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ให้ดีพอที่จะทำให้ระบบงานสามารถฟื้นคืนชีพในเวลาอันสั้นด้วย ในช่วงของการดีไซน์ระบบรักษาความปลอดภัยนี้
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555
โปรแกรมสำหรับเขียน DFD
Present ครั้งนี้ต้องพูดถึง DFD ของระบบด้วย
วันนี้เราจึงเอาโปรแกรมที่ใช้เขียน DFD มาให้โหลดกันด้วย หลายๆคนคงมีแล้ว แต่สำหรับคนที่ยังไม่มีโหลดได้นะ
คู่มือการใช้งาน : http://thaicourt.blogspot.com/2010/06/visio_1643.html.
หากเพื่อนๆมีโปรแกรมอื่นที่ใช้ได้และสะดวกลองนำมาโพสแนะนำได้นะ :)
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับเอาต์พุต
เอาต์พุตที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจจะต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม
โดยทั่วไปเอาต์พุตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจ
(Internal Output) และเอาต์พุตที่ใช้ภายนอกธุรกิจ (External Output)
เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจได้แก่ รายงานต่างๆ ที่ใช้ภายในแผนกหรือหน่วยงาน เช่น รายงานการขายประจำวัน รายงานสรุปผลการขายประจำเดือน หรือรายงานเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ส่วนเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เอาต์พุตที่จะต้องถูกส่งออกไปยังบุคคลภายนอกธุรกิจ เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน แบบฟอร์มการเสียภาษีของสรรพากร เป็นต้น
เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจได้แก่ รายงานต่างๆ ที่ใช้ภายในแผนกหรือหน่วยงาน เช่น รายงานการขายประจำวัน รายงานสรุปผลการขายประจำเดือน หรือรายงานเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ส่วนเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เอาต์พุตที่จะต้องถูกส่งออกไปยังบุคคลภายนอกธุรกิจ เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน แบบฟอร์มการเสียภาษีของสรรพากร เป็นต้น
วิธีการดีไซน์เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกอาจจะต้องแตกต่างกับเอาต์พุตที่ใช้ภายใน
เช่น
อาจจะต้องมีการอธิบายถึงความหมายของแต่ละช่องที่กรอกลงไปให้ละเอียดขึ้น
การจัดรูปแบบอาจจะต้องกำหนดตามมาตรฐานสากลหรือตามที่กฎหมายบังคับไว้
เป็นต้น
วิธีการดีไซน์เอาต์พุตมีส่วนสัมพันธ์กับรูปแบบของเอาต์พุตที่ออกมาอย่างมาก
เช่น ประเทศไทย
เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกหรือที่ธุรกิจจะต้องให้กับหน่วยงานราชการ
ทั้งหมดยังคงอยู่ในรูปแบบที่จะต้องพิมพ์ลงกระดาษทั้งสิ้น
ดังนั้นรูปแบบของเอาต์พุตที่ใช้ย่อมต้องเลือกวิธีการพิมพ์ลงเครื่องพิมพ์
อย่างเดียว เป็นต้น
ดังตารางต่อไปนี้ได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการใช้รูปแบบต่างๆ
เพื่อออกเอาต์พุต
ปิยะชัย แซ่อึ้ง
การศึกษาความเหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ
เมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ทำการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบอย่างถ่องแท้แล้ว
นอกจากนี้ยังจะต้องทำการจัดสรรให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารข้อมูล จึงจำเป็นจะต้องใช้วิธีการอย่างมีระบบในการชี้นำเพื่อตัดสินใจ
ในปัจจุบัน
ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มีราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก และซอฟต์แวร์มากมายหลากหลาย ก็ถูกนำออกมาจำหน่ายและเผยแพร่ในท้องตลาดจำนวนมาก จึงทำให้ทุกๆองค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากสำหรับยุคปัจจุบัน แต่การซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็ควรมีขั้นตอนในการจัดซื้อ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ตามต้องการไม่เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า
วิธีการและขั้นตอนในการพิจารณาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อย่างคุ้มค่า
นักวิเคราะห์ระบบต้องทำการพิจารณา
คือ
1. สำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ
ที่มีอยู่
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการสำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วในองค์กร และจำทำออกมาในรูปแบบของบัญชีทรัพย์สินที่แสดงรายระเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ แต่ถ้าได้มีการทำบัญชีทรัพย์สินเอาไว้แล้ว ให้นำบัญชีนั้นมาแล้วทำการสุ่มตัวอย่างขึ้นมาทำการตรวจสอบว่า อุปกรณ์และซอฟต์แวร์นั้นๆมีคุณภาพหรือมีอุปกรณ์อยู่ครบตามบัญชีทรัพย์สินจริงหรือไม่
2. การประมาณปริมาณงานของระบบที่ใช้อยู่
เป็นการประมาณปริมาณ
งานของระบบ (Estimating
Workloads) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องรองรับได้ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของเครื่องที่สามารถจะรองรับงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และงานที่อาจจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นต่อไปอีกในอนาคตได้ ซึ่งจะทำให้ลดความยุ่งยากในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใหม่และจะต้องทำการถ่ายข้อมูลจากระบบเก่าสู่ระบบใหม่ด้วย
3. พิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ทำการประเมินในขั้นต้นก่อนที่จะถึงการประเมินของผู้บริหาร ฉะนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อดีแล้วข้อเสียของคอมพิวเตอร์โดยคร่าวๆ เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการพิจารณาด้วย สิ่งที่ควรจะดูในทั่วไปแล้ว คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูลเข้า และการออกผลลัพธ์
ความจุในการเก็บข้อมูล ความสามารถในการขยายหน่วยความจำ และอัตราความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เป็นต้น
4. ระดับต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และใช้งาน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะความรวดเร็วของเทคโนโลยีนี้เองเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการศึกษาถึงรุ่นและแบบต่างๆ ของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกครั้งที่จะต้องมีการพิจารณาจัดสรรอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ
ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เองก็มีอยู่หลายระดับ เช่น
ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
5. พิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์ซอฟต์แวร์
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาซอฟต์แวร์ต่างๆกัน
แบ่งออกเป็น 6 ข้อ คือ
1. จะต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่ตรงต่อความต้องการ (Requirements)
2. ประสิทธิภาพในการทำงานของซอฟต์แวร์ (Performance)
3. ง่ายต่อการใช้งาน (Easy to use)
4. มีความยืดหยุ่นพอควร (Flexibility)
5. คุณภาพของเอกสารและคู่มือการใช้ (Quality of Documentation)
6. การรับรองและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตและผู้ขาย (Manufacturer
Support)
6. ประมาณการต้นทุนและผลตอบแทน
สิ่งสุดท้ายที่จะทำการวิเคราะห์ คือ
การคิดต้นทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับจากระบบหากระบบต้องมีการใช้เงินในการลงทุนสูงมากเพื่อนำมาพัฒนา
แต่ผลตอบแทนจากระบบกลับมีค่าที่ต่ำกว่า แสดงว่าหากมีการพัฒนาระบบขึ้นมาจริงๆ
เงินที่ลงทุนไปกลับไม่คุ้มค่าต่อผลที่จะได้รับ
จึงไม่คุ้มที่จะทำการลงทุนในงานนั้นๆ
ดังนั้น เมื่อได้พิจารณาตามขั้นตอนดังกล่าวเบื้องต้นให้ดีแล้ว
นำผลที่ได้รับมาเปรียบเทียบหาความเหมาะสมที่สุด
ณัฐฐิญา ราญรอน
วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555
การเขียน ER Model
- ขั้นตอนการเขียน ER model
- :: สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานฐานข้อมูลจะต้องยุ่งเกี่ยวด้วย เช่น คน แผนก ประเภท
การสั่งซื้อ เป็นต้น
- Entities are the principal data object about which information is to be collected. Entities are usually recognizable concepts, either concrete or abstract, such as person, places, things, or events which have relevance to the database. Some specific examples of entities are EMPLOYEES, PROJECTS, INVOICES. An entity is analogous to a table in the relational model.
- Entities are the principal data object about which information is to be collected. Entities are usually recognizable concepts, either concrete or abstract, such as person, places, things, or events which have relevance to the database. Some specific examples of entities are EMPLOYEES, PROJECTS, INVOICES. An entity is analogous to a table in the relational model.
-
- :: แอททริบิวท์(Attibute) อาจเรียก field หรือ column คือ สิ่งที่ใช้อธิบายคุณสมบัติของเอนติตี้ เช่นคุณสมบัติของคน ก็มี รหัส ชื่อ อายุ เพศ เป็นต้น
- คำต่าง ๆ ที่ควรทราบ
- - คีย์หลัก (Primary key) :: คีย์หลักประจำแฟ้ม
- ข้อมูลของแอททริบิวท์มีความเป็นหนึ่งเดียว(Uniqueness) กล่าวคือทุก ๆ แถวของตารางจะต้องไม่มีข้อมูลของแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลักซ้ำกันเลย
- ต้องประกอบด้วยจำนวนแอททริบิวท์ที่น้อยที่สุด(Minimality) ที่จะสามารถใช้เจาะจง หรืออ้างอิงถึงแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชันได้
- คุณสมบัติของคีย์หลัก
- - คีย์คู่แข่ง (Candidate key) :: คีย์ที่สามารถเป็น Primary key ได้ เช่น รหัสบัตรประชาชน หรือรหัสผู้เสียภาษี
- - คีย์สำรอง (Alternate key) :: คีย์ตัวอื่น ๆ ในตารางหลังจากเลือก primary key แล้ว
- - คีย์นอก (Foreign key) :: คีย์ตัวอื่น ๆ ในตารางหลังจากเลือก primary key แล้ว
- - คีย์ร่วม (Composite key) :: สามารถแยกออกไปได้อีก เช่น ที่อยู่
- - Composite attibute :: สามารถแยกออกไปได้อีก เช่น ที่อยู่
- - Atomic attibute :: ไม่สามารถแยกออกไปได้อีก เช่น นามสกุล
- - Multivalued attibute :: อาจมีหลายค่าได้ เช่น สีรถ
- - Derived attibute :: ไม่มีค่าแน่นอนของตน แต่ขึ้นกับค่าอื่น เช่นอายุ ขึ้นกับปี
- เกิด และปีปัจจุบัน
- - Entity type :: ชื่อของ entity เช่น course (courseno,coursename)
- - Entity instance :: ค่าภายในของ entity เช่น bcom101,Introduction to computer
- :: แอททริบิวท์(Attibute) อาจเรียก field หรือ column คือ สิ่งที่ใช้อธิบายคุณสมบัติของเอนติตี้ เช่นคุณสมบัติของคน ก็มี รหัส ชื่อ อายุ เพศ เป็นต้น
- One-to-one relationship ความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ 1
- เช่น คนขับกับรถ หรือครูใหญ่กับโรงเรียน เป็นต้น
- One-to-many relationship ความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อหลายข้อมูล
- เช่น ลูกค้ากับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือ อาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียน
- Many-to-many relationship ความสัมพันธ์แบบหลายข้อมูล ต่อหลายข้อมูล
- เช่น นักเรียนกับวิชาที่ลงทะเบียน หรือ คนงานกับโครงการสร้างบ้าน
- เช่น นักเรียนกับวิชาที่ลงทะเบียน หรือ คนงานกับโครงการสร้างบ้าน
- :: ความสัมพันธ์ระหว่าง entity
- 1. Total หรือ Mandatory participation (ต้องมี จะใช้เส้นคู่)
- 2. Partial หรือ Optional participation (เลือกได้ จะใช้เส้นเดียว)
- อ่านแล้วยัง งงๆ คงต้องใช้เวลา :)
1 กำหนด Entity type โดยกำหนดมาจากความต้องการของผู้ใช้ระบบ ว่าจะให้มี Entity สำหรับเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
เอนติตี้(Entity) อาจเรียกว่า file หรือ table
.1 Strong entity คือเกิดขึ้นด้วยตนเองไม่ขึ้นกับ entity ใด เช่น นักศึกษา หรืออาจารย์ หรือสินค้า เป็นต้น
2 Weak entity คือขึ้นโดยอาศัย entity อื่น เช่น เกรดเฉลี่ย ที่มาจากแฟ้มผลการเรียน หรือ แฟ้มลงทะเบียน หรือ แฟ้มสั่งซื้อ เป็นต้น
2 กำหนดความสัมพันธ์ (Relationship type) ที่เกิดขึ้นระหว่าง entity ในลักษณะของกริยา
- ดีกรีของความสัมพันธ์(Degree of relation) มี 4 แบบ
- 1 Unary
relationship คือความสัมพันธ์ภายใน entity เดียวกัน เช่นแต่งงานของพนักงาน
แต่ถ้ามีระดับแบบลูกน้อง หัวหน้าจะเรียก Recursive relationship(Unary)
2 Binary relationship คือความสัมพันธ์แบบสอง entity
3 Ternary relationship คือความสัมพันธ์แบบสาม entity
4 Quaternary relationship คือความสัมพันธ์แบบสี่ entity
3 กำหนดแอททริบิวท์ (Attribute) ของแต่ละเอนติตี้
4 คาร์ดินัลลิตี้ และปาร์ติซิเปชั่นของความสัมพันธ์ (Cardinality and participation of relationship)
- 1 คาร์ดินัลลิตี้ของความสัมพันธ์(Cardinality of Relationship)
- :: แต่ละเอนติตี้มีความสัมพันธ์ต่อกัน
โดยมีคำกริยามาเชื่อมระหว่างแต่ละเอนติตี้
2 ปาร์ติซิเปชั่นของความสัมพันธ์ (Participation of relationship)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)