Data flow Diagram คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร |
แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)
Data Flow Diagram เป็นเครื่องมือของนักวิเคราะห์ระบบที่ช่วยให้สามารถเข้าใจกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งทราบถึงการรับ / ส่งข้อมูล การประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นแบบจำลองของระบบ แสดงถึงการไหลของข้อมูลทั้ง INPUT และ OUTPUT ระหว่างระบบกับแหล่งกำเนิดรวมทั้งปลายทางของการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแผนก บุคคล หรือระบบอื่น โดยขึ้นอยู่กับระบบงานและการทำงานประสานงานภายในระบบนั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้รู้ถึงความต้องการข้อมูลและข้อบกพร่อง (ปัญหา) ในระบบงานเดิม เพื่อใช้ในการออกแบบการปฏิบัติงานในระบบใหม่ รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างDFD ต่างระดับ
จากรูปที่ 1 ลูกศรแสดงถึงข้อมูลซึ่งต้องมีชื่อกำกับ
ลูกศรนี้จะเคลื่อนที่ผ่านระบบตรงกลาง คือ การสร้างระบบวานใหม่
แสดงถึงการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับข้อมูลที่วิ่งเข้ามา
และลูกศรที่วิ่งออกจากระบบตรงกลางแสดงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำบนข้อมูลนั้นๆ
แต่จากรูปนี้เราไม่อาจทราบว่าระบบใหม่สร้างขึ้นมาได้อย่างไร
เอให้ได้รายละเอียดในการสร้างระบบใหม่ เราก็แตกระบบนี้ลงอีกระดับหนึ่ง ในรูปที่ 1
ส่วนล่างที่แตกออกไปเป็น 3 กิจกรรม
มีกิจกรรมอยู่ 3 ขั้นตอนในการสร้างระบบใหม่
การแยกย่อยหน้าที่หนึ่งให้ได้รายละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจระบบนั้นได้ดีขึ้น
และอาจจะแตกกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมลงให้มีรายละเอียดมากขึ้นอีกก็เป็นได้
จนกว่าจะได้รายละเอียดเหมาะสมตามจุดประสงค์ของเรา
วิธีการเขียนนี้ก็เหมือนกันกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีหลาย ๆ
โปรแกรมย่อยนั่นเอง ดังนั้นการเขียน DFD ละเอียดเท่าใดก็ทำให้การออกแบบที่ตามมาง่ายขึ้นเท่านั้น
สรุปแล้ว DFD มีประโยชน์โดยตรงกับนักวิเคราะห์ระบบ
เพราะช่วยให้นักวิเคราะหสามารถมองและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลของระบบเก่า
โดยนำปัญหาต่างๆมาแก้ไขแล้วจัดการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับระบบใหม่
ณัฐฐิญา ราญรอน
|
อยากจะให้บล็อกมีกด Like นะ 5555
ตอบลบพอที่จะเข้าใจ DFD บ้างแล้วเล็กน้อย เยี่ยม ^^