วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับเอาต์พุต

  เอาต์พุตที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจจะต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม โดยทั่วไปเอาต์พุตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจ (Internal Output) และเอาต์พุตที่ใช้ภายนอกธุรกิจ (External Output)
          เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจได้แก่ รายงานต่างๆ ที่ใช้ภายในแผนกหรือหน่วยงาน เช่น รายงานการขายประจำวัน รายงานสรุปผลการขายประจำเดือน หรือรายงานเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ส่วนเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เอาต์พุตที่จะต้องถูกส่งออกไปยังบุคคลภายนอกธุรกิจ เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน แบบฟอร์มการเสียภาษีของสรรพากร เป็นต้น
          วิธีการดีไซน์เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกอาจจะต้องแตกต่างกับเอาต์พุตที่ใช้ภายใน เช่น อาจจะต้องมีการอธิบายถึงความหมายของแต่ละช่องที่กรอกลงไปให้ละเอียดขึ้น การจัดรูปแบบอาจจะต้องกำหนดตามมาตรฐานสากลหรือตามที่กฎหมายบังคับไว้ เป็นต้น
          วิธีการดีไซน์เอาต์พุตมีส่วนสัมพันธ์กับรูปแบบของเอาต์พุตที่ออกมาอย่างมาก เช่น ประเทศไทย เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกหรือที่ธุรกิจจะต้องให้กับหน่วยงานราชการ ทั้งหมดยังคงอยู่ในรูปแบบที่จะต้องพิมพ์ลงกระดาษทั้งสิ้น ดังนั้นรูปแบบของเอาต์พุตที่ใช้ย่อมต้องเลือกวิธีการพิมพ์ลงเครื่องพิมพ์ อย่างเดียว เป็นต้น ดังตารางต่อไปนี้ได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการใช้รูปแบบต่างๆ เพื่อออกเอาต์พุต


 
ปิยะชัย แซ่อึ้ง 

การศึกษาความเหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ

เมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ทำการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบอย่างถ่องแท้แล้ว นอกจากนี้ยังจะต้องทำการจัดสรรให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารข้อมูล จึงจำเป็นจะต้องใช้วิธีการอย่างมีระบบในการชี้นำเพื่อตัดสินใจ
                ในปัจจุบัน ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มีราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก และซอฟต์แวร์มากมายหลากหลาย ก็ถูกนำออกมาจำหน่ายและเผยแพร่ในท้องตลาดจำนวนมาก จึงทำให้ทุกๆองค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากสำหรับยุคปัจจุบัน แต่การซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็ควรมีขั้นตอนในการจัดซื้อ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ตามต้องการไม่เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

วิธีการและขั้นตอนในการพิจารณาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อย่างคุ้มค่า
นักวิเคราะห์ระบบต้องทำการพิจารณา คือ

1. สำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีอยู่
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการสำรวจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วในองค์กร และจำทำออกมาในรูปแบบของบัญชีทรัพย์สินที่แสดงรายระเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ แต่ถ้าได้มีการทำบัญชีทรัพย์สินเอาไว้แล้ว ให้นำบัญชีนั้นมาแล้วทำการสุ่มตัวอย่างขึ้นมาทำการตรวจสอบว่า อุปกรณ์และซอฟต์แวร์นั้นๆมีคุณภาพหรือมีอุปกรณ์อยู่ครบตามบัญชีทรัพย์สินจริงหรือไม่

2. การประมาณปริมาณงานของระบบที่ใช้อยู่
เป็นการประมาณปริมาณ งานของระบบ (Estimating Workloads) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องรองรับได้ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของเครื่องที่สามารถจะรองรับงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และงานที่อาจจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นต่อไปอีกในอนาคตได้ ซึ่งจะทำให้ลดความยุ่งยากในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใหม่และจะต้องทำการถ่ายข้อมูลจากระบบเก่าสู่ระบบใหม่ด้วย

3. พิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ทำการประเมินในขั้นต้นก่อนที่จะถึงการประเมินของผู้บริหาร  ฉะนั้น  นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อดีแล้วข้อเสียของคอมพิวเตอร์โดยคร่าวๆ  เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นความรู้ประกอบการพิจารณาด้วย  สิ่งที่ควรจะดูในทั่วไปแล้ว คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล  การรับข้อมูลเข้า  และการออกผลลัพธ์ ความจุในการเก็บข้อมูล  ความสามารถในการขยายหน่วยความจำ และอัตราความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เป็นต้น  
 
4. ระดับต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และใช้งาน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว  เพราะความรวดเร็วของเทคโนโลยีนี้เองเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการศึกษาถึงรุ่นและแบบต่างๆ  ของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์  ทุกครั้งที่จะต้องมีการพิจารณาจัดสรรอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เองก็มีอยู่หลายระดับ  เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์  มินิคอมพิวเตอร์  และเมนเฟรม  

5. พิจารณาและวิเคราะห์อุปกรณ์ซอฟต์แวร์
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาซอฟต์แวร์ต่างๆกัน แบ่งออกเป็น 6 ข้อ คือ
1.        จะต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่ตรงต่อความต้องการ (Requirements)
2.        ประสิทธิภาพในการทำงานของซอฟต์แวร์ (Performance)
3.        ง่ายต่อการใช้งาน (Easy to use)
4.        มีความยืดหยุ่นพอควร (Flexibility)
5.        คุณภาพของเอกสารและคู่มือการใช้ (Quality of Documentation)
6.        การรับรองและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตและผู้ขาย (Manufacturer Support)

6. ประมาณการต้นทุนและผลตอบแทน
สิ่งสุดท้ายที่จะทำการวิเคราะห์ คือ การคิดต้นทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับจากระบบหากระบบต้องมีการใช้เงินในการลงทุนสูงมากเพื่อนำมาพัฒนา แต่ผลตอบแทนจากระบบกลับมีค่าที่ต่ำกว่า แสดงว่าหากมีการพัฒนาระบบขึ้นมาจริงๆ เงินที่ลงทุนไปกลับไม่คุ้มค่าต่อผลที่จะได้รับ จึงไม่คุ้มที่จะทำการลงทุนในงานนั้นๆ


ดังนั้น เมื่อได้พิจารณาตามขั้นตอนดังกล่าวเบื้องต้นให้ดีแล้ว นำผลที่ได้รับมาเปรียบเทียบหาความเหมาะสมที่สุด

รายละเอียดเพิ่มเติม   http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5027/image/System/Bot.html
ณัฐฐิญา   ราญรอน

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเขียน ER Model

     ขั้นตอนการเขียน ER model

      1 กำหนด Entity type โดยกำหนดมาจากความต้องการของผู้ใช้ระบบ ว่าจะให้มี Entity สำหรับเก็บข้อมูลอะไรบ้าง

        เอนติตี้(Entity) อาจเรียกว่า file หรือ table
        .1 Strong entity คือเกิดขึ้นด้วยตนเองไม่ขึ้นกับ entity ใด เช่น นักศึกษา หรืออาจารย์ หรือสินค้า เป็นต้น

        2 Weak entity คือขึ้นโดยอาศัย entity อื่น เช่น เกรดเฉลี่ย ที่มาจากแฟ้มผลการเรียน หรือ แฟ้มลงทะเบียน หรือ แฟ้มสั่งซื้อ เป็นต้น
        :: สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานฐานข้อมูลจะต้องยุ่งเกี่ยวด้วย เช่น คน แผนก ประเภท การสั่งซื้อ เป็นต้น
        Entities are the principal data object about which information is to be collected. Entities are usually recognizable concepts, either concrete or abstract, such as person, places, things, or events which have relevance to the database. Some specific examples of entities are EMPLOYEES, PROJECTS, INVOICES. An entity is analogous to a table in the relational model.

      2 กำหนดความสัมพันธ์ (Relationship type) ที่เกิดขึ้นระหว่าง entity ในลักษณะของกริยา
        ดีกรีของความสัมพันธ์(Degree of relation) มี 4 แบบ
        1 Unary relationship คือความสัมพันธ์ภายใน entity เดียวกัน เช่นแต่งงานของพนักงาน แต่ถ้ามีระดับแบบลูกน้อง หัวหน้าจะเรียก Recursive relationship(Unary)
        2 Binary relationship คือความสัมพันธ์แบบสอง entity
        3 Ternary relationship คือความสัมพันธ์แบบสาม entity
        4 Quaternary relationship คือความสัมพันธ์แบบสี่ entity

      3 กำหนดแอททริบิวท์ (Attribute) ของแต่ละเอนติตี้
         
        :: แอททริบิวท์(Attibute) อาจเรียก field หรือ column คือ สิ่งที่ใช้อธิบายคุณสมบัติของเอนติตี้ เช่นคุณสมบัติของคน ก็มี รหัส ชื่อ อายุ เพศ เป็นต้น
         
         
         
         


         
        คำต่าง ๆ ที่ควรทราบ
         
        - คีย์หลัก (Primary key) :: คีย์หลักประจำแฟ้ม
            คุณสมบัติของคีย์หลัก
          1. ข้อมูลของแอททริบิวท์มีความเป็นหนึ่งเดียว(Uniqueness) กล่าวคือทุก ๆ แถวของตารางจะต้องไม่มีข้อมูลของแอททริบิวท์ที่เป็นคีย์หลักซ้ำกันเลย
          2. ต้องประกอบด้วยจำนวนแอททริบิวท์ที่น้อยที่สุด(Minimality) ที่จะสามารถใช้เจาะจง หรืออ้างอิงถึงแถวใดแถวหนึ่งในรีเลชันได้
         
        - คีย์คู่แข่ง (Candidate key) :: คีย์ที่สามารถเป็น Primary key ได้ เช่น รหัสบัตรประชาชน หรือรหัสผู้เสียภาษี
         
        - คีย์สำรอง (Alternate key) :: คีย์ตัวอื่น ๆ ในตารางหลังจากเลือก primary key แล้ว
         
        - คีย์นอก (Foreign key) :: คีย์ตัวอื่น ๆ ในตารางหลังจากเลือก primary key แล้ว
         
        - คีย์ร่วม (Composite key) :: สามารถแยกออกไปได้อีก เช่น ที่อยู่
         
        - Composite attibute :: สามารถแยกออกไปได้อีก เช่น ที่อยู่
         
        - Atomic attibute :: ไม่สามารถแยกออกไปได้อีก เช่น นามสกุล
         
        - Multivalued attibute :: อาจมีหลายค่าได้ เช่น สีรถ
         
        - Derived attibute :: ไม่มีค่าแน่นอนของตน แต่ขึ้นกับค่าอื่น เช่นอายุ ขึ้นกับปี
        เกิด และปีปัจจุบัน
         
        - Entity type :: ชื่อของ entity เช่น course (courseno,coursename)
         
        - Entity instance :: ค่าภายในของ entity เช่น bcom101,Introduction to computer

      4 คาร์ดินัลลิตี้ และปาร์ติซิเปชั่นของความสัมพันธ์ (Cardinality and participation of relationship)
          1 คาร์ดินัลลิตี้ของความสัมพันธ์(Cardinality of Relationship)
            :: แต่ละเอนติตี้มีความสัมพันธ์ต่อกัน โดยมีคำกริยามาเชื่อมระหว่างแต่ละเอนติตี้
          1. One-to-one relationship ความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ 1
            เช่น คนขับกับรถ หรือครูใหญ่กับโรงเรียน เป็นต้น
          2. One-to-many relationship ความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อหลายข้อมูล
            เช่น ลูกค้ากับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือ อาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียน
          3. Many-to-many relationship ความสัมพันธ์แบบหลายข้อมูล ต่อหลายข้อมูล
            เช่น นักเรียนกับวิชาที่ลงทะเบียน หรือ คนงานกับโครงการสร้างบ้าน

          2 ปาร์ติซิเปชั่นของความสัมพันธ์ (Participation of relationship)
          :: ความสัมพันธ์ระหว่าง entity
           
          1. Total หรือ Mandatory participation (ต้องมี จะใช้เส้นคู่)
          2. Partial หรือ Optional participation (เลือกได้ จะใช้เส้นเดียว)
           
          อ่านแล้วยัง งงๆ  คงต้องใช้เวลา  :)
           
    Ref : http://www.thaiall.com/learn/sader.htm#01

    วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    PHP คืออะไร


    หลายคนที่ทำเว็บไซต์ด้วย HTML หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Dreamweaver แล้วอาจสงสัยว่าเมื่อทำ form สำหรับ รับค่าเช่น ชื่อ ที่อยู่ เสร็จแล้วจะเก็บค่ายังไง หรือจะทำอย่างไรต่อ หรือเว็บบอร์ดทำงานอย่างไร CMS ทำงานอย่างไร ทำไมบางเว็บไซต์สามารถโต้ตอบกับ ผู้ใช้งานได้ คำตอบของทุกคำถามคือ PHP 

    PHP นั้นเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป อาจมีข้อสงสัยว่า ต่างจาก HTML อย่างไร คำตอบคือ HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จัดตำแหน่งรูป จัดรูปแบบตัวอักษร หรือใส่สีสันให้กับ เว็บไซต์ของเรา แต่ PHP นั้นเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวน ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ อย่างเช่น รับค่าจากแบบ form ที่เราทำ รับค่าจากช่องคำตอบของเว็บบอร์ดและเก็บไว้เพื่อนำมาแสดงผลต่อไป แม้แต่กระทั่งใช้ในการเขียน CMS ยอดนิยมเช่น Drupal , Joomla พูดง่ายๆคือเว็บไซต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ต้องมีภาษา PHP ส่วน HTML หรือ Javascript ใช้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการแสดงผลเท่านั้

    นอกจากภาษา PHP แล้วยังมีภาษาอื่นอีกหรือไม่
    คำตอบคือมี เช่น ASP , JSP แต่ที่นิยมมาก คือ PHP เพราะเป็นภาษาที่สามารถศึกษาได้ง่าย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน รวมทั้งมีชุมชนคนใช้งาน และคู่มือที่ ดีมาก และสำคัญสุดคือฟรี การใช้งานภาษา PHP ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

    การจะเขียน PHP ต้องมีอะไรบ้าง
    อย่างที่บอกไปว่า PHP นั้นจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลดังนั้นการใช้งานเราจะต้องมี Web Server เพื่อให้ตัว PHP สามารถทำงานได้ ต่างจาก HTML งั้นจะทำอย่างไรถ้าเราไม่ได้เช่า Web Server เอาไว้จะใช้งาน PHP ไม่ได้หรือ คำตอบคือได้ แต่เราจะต้องลงโปรแกรม ให้เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นทำงานเหมือนกับ Web Server ซะก่อนซึ่งโปรแกรมนั้นชื่อว่า Apache ครับเป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน นี่เป็นข้อดี ที่ทำให้ทุกคนรัก PHP ครับ หลังจากที่เราทำให้เครื่องของเรานั้นเหมือนกับ Web Server แล้วจะเก็บข้อมูลเว็บไซต์เช่น คำตอบของเว็บบอร์ด จะเก็บอย่างไร คำตอบคือต้องมีโปรแกรมฐานข้อมูลอีกตัวเข้ามาช่วย ซึ่งโปรแกรมที่แนะนำคือ MySQL ฟรีอีกเช่นกัน 

    ลองเข้าไปดู"ที่นี่"นะ มันเป็นบทความในการสอนทำเว็บไซต์




    อนาคตนักวิเคราะห์ระบบ


    อนาคตนักวิเคราะห์ระบบ

    นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) เป็นบุคลากรที่ต้องทำการวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาของระบบเดิมที่ยังเป็นระบบที่ไม่มีคอมพิวเตอร์มาใช้ จนกระทั่งแม้มีระบบคอมพิวเตอร์ใช้อยู่ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ ซึ่งควรมีประสบการณ์ในเรื่องการเขียนโปรแกรม และจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องระบบต่างๆพร้อมทั้งสามารถเข้าใจและรับการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆมาจากผู้ใช้ระบบได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อจะได้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบได้อย่างถูกต้อง
    คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
    นักวิเคราะห์ระบบจะต้องสามารถทำงานร่วมกับคนได้ทุกประเภท จะต้องมีประสพการณ์ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ สามารถอธิบายให้คนเหล่านั้นเข้าใจและเห็นความสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ และบางครั้งจะต้องทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยจะมีหน้าที่ที่สำคัญคือ
    - นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นที่ปรึกษา
    ซึ่งโดยส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ระบบจะมีหน้าที่นี้ โดยส่วนใหญ่ในการที่จะทำหน้าที่นี้ได้ควรจะต้องปฏิบัติงานในองค์กรนั้นเป็นหลักเพราะจะสามารถรู้ถึงลักษณะขององค์กรนั้นได้มากกว่า แต่ถ้าหากเป็นนักวิเคราะห์ระบบจากภายนอกจะต้องทำงานอย่างหนักที่จะหาวิธีที่จะวิเคราะห์และออกแบบให้เป็นไปตามองค์กรนั้น
    - นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
    ในการเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะงานซึ่งมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง และไม่ค่อยมีผลกระทบกับส่วนอื่นๆ
    - นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
    ซึ่งจะต้องพยายามให้การเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลกระทบในทางบวกมากที่สุด และจะต้องคอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการสอนผู้ใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้น
    -นักวิเคราะห์ระบบจะต้องสร้างคุณภาพ
    การสร้างคุณภาพจะเป็นไปได้อย่างมากเมื่อนักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักเลือกใช้เครื่องมือที่มาช่วยในการวิเคราะห์ระบบได้เหมาะสมกับงาน มีเทคนิคที่ดี มีประสบการณ์สูง มีความเข้าใจในความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากผู้ใช้ได้ดี และสามารถสื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ในการ code ได้ตรงกับระบบ
    ระดับความรู้
    บุคลากรที่จะดำรงตำแหน่งงานนี้ได้จะต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และด้านการวิเคราะห์ระบบอย่างน้อยปริญญาตรีขึ้นไป และควรมีประสบการณ์ด้านการเขียนโปรแกรม
    นักวิเคราะห์ระบบในหน้าที่อื่น
    1. วิเคราะห์ระบบเท่านั้น โดยที่องค์กรที่รับผิดชอบนั้นต้องการเน้นแต่การรวบรวมข้อมูล และตัดสินใจถึงความต้องการของผู้ใช้เท่านั้น ตำแหน่งนี้คือ นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ (Information analysts)
    2. วิเคราะห์และ ออกแบบระบบ โดยที่นักวิเคราะห์ระบบนั้นต้องรับผิดชอบในการทำระบบให้ สมบูรณ์รวมทั้งต้องรับผิดชอบในการออกแบบระบบใหม่ด้วย ตำแหน่งนี้คือ นักวิเคราะห์ออกแบบระบบ และนักพัฒนาซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Systems designers, applications developers)
    3. วิเคราะห์ ออกแบบระบบ และการเขียนโปรแกรม โดยนักวิเคราะห์ระบบนั้นต้องรับผิดชอบใน การวิเคราะห์ พัฒนาออกแบบเฉพาะงาน และเขียนโปรแกรมตามที่ออกแบบ ตำแหน่งนี้คือนักเขียนและวิเคราะห์โปรแกรม (Programmer analysts)


    วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    การดีไซน์แฟ้มหรือฐานข้อมูล

              แฟ้มหรือฐานข้อมูลจะเป็นสิ่งที่เก็บข้อมูลเอาไว้สำหรับระบบ เพื่อที่ระบบงานจะสามารถนำเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เมื่อต้องการ ดังนั้น ฐานข้อมูลจึงมีคุณสมบัติที่จะอำนวยให้ข้อมูลสามารถถูกเรียกใช้ร่วมกันได้จากระบบงานย่อยต่างๆ 

              แฟ้มหรือฐานข้อมูลสามารถบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้จากระบบงาน โดยอาจจะเป็นแบบออนไลน์หรือแบบออฟไลน์ก็ได้ ซึ่งหากว่าแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง นักวิเคราะห์ระบบก็ควรจะใช้แบบออนไลน์ การจัดการแบบออฟไลน์จะเหมาะสมก็ต่อเมื่อแฟ้มหรือฐานข้อมูลนั้นนานๆครั้งจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

               นอกเหนือจากการจัดดีไซน์ทางด้านการประมวลผลของระบบงานว่าควรจะเป็นแบบออนไลน์หรือออฟไลน์แล้ว นักวิเคราะห์ระบบยังต้องดีไซน์ลักษณะของแฟ้มหรือฐานข้อมูลว่าจะต้องเป็นแบบใด โดยพื้นฐานของแฟ้มข้อมูลจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ
      
    1. แฟ้มข้อมูลแบบอนุกรม (Sequential)
                   
               เป็นแฟ้มที่เก็บข้อมูลเรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ การดึงข้อมูลของระบบงานจะทำได้โดยการอ่านข้อมูล ที่เก็บไว้ตั้งแต่ต้นแฟ้มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบลักษณะของแฟ้มข้อมูลแบบอนุกรม จึงมักจะเหมาะกับวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เหมาะต่อการใช้เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เพื่อสำรองเอาไว้ (BackUp) เหมาะสำหรับใช้เก็บข้อมูลที่ได้เรียงลำดับไว้ดีแล้ว เพื่อออกรายงาน และแฟ้มข้อมูลแบบอนุกรมโดยส่วนใหญ่จะมีความเชื่อถือได้ (Reliability) สูงกว่าแฟ้มข้อมูลชนิดอื่น

                แฟ้มข้อมูลแบบอนุกรมจะมีข้อเสียบางประการเช่นกัน กล่าวคือ ระบบงานอาจจะต้องทำการเรียงลำดับข้อมูล (Pre-Sorting) ไว้ก่อนทุกครั้งก่อนที่จะนำเอาข้อมูลมาใช้ได้ หากระบบงานต้องการเรียกข้อมูลจุดใดจุดหนึ่งขึ้นมาใช้ ระบบงานจำเป็นจะต้องอ่านข้อมูลตั้งแต่ต้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบ ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก

    2. แฟ้มข้อมูลแบบแรนดอม (Random/Direct)
                หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม เป็นแฟ้มข้อมูลที่นิยมใช้เก็บข้อมูลในลักษณะ ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ข้อมูลที่เก็บไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับมาก่อน และการดึงข้อมูลที่จุดใดจุดหนึ่งก็สามารถกระทำได้ทันที โดยไม่ต้องอ่านตามลำดับตั้งต้นเหมือนแบบอนุกรม อย่างไรก็ดีการที่ระบบสามารถที่จะหาข้อมูลได้โดยตรงนั้น แฟ้มข้อมูลจะต้องมีการเก็บค่าดัชนี (Index) ไว้เสมอ เพื่อจะใช้เป็นตัวชี้ไปยังตำแหน่งข้อมูลได้ถูกต้อง การที่ต้องเก็บค่าดัชนีและวิธีการที่จะทำให้ระบบสามารถจะเข้าถึงงานข้อมูล ได้ทันทีนั้นทำให้ค่าใช้จ่ายของแฟ้มข้อมูลประเภทนี้จะสูงกว่าแฟ้มข้อมูลประเภทอนุกรม      
                นอกจากนี้ การดีไซน์ระบบงานที่ใช้แฟ้มข้อมูลแบบแรนดอม จะค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนกว่าแฟ้มข้อมูลแบบอนุกรม

    3. แฟ้มข้อมูลไอแซม (ISAM)

                หรือ Index Sequential Access Mode เป็นการรวมเอาลักษณะของแฟ้มข้อมูลแบบอนุกรมและแรนดอมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งหมายความว่าระบบงานสามารถที่จะดึงข้อมูลจากแฟ้มไอแซมแบบอนุกรมก็ได้ หรือจะเรียกผ่านดัชนีแบบแรนดอมได้

                ระบบงานคอมพิวเตอร์ทุกระบบงานในปัจจุบันต้องการกระบวนการที่จะเข้าถึง (Access) ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงจะต้องพยายามดีไซน์ฐานข้อมูล (Databases) ให้เกิดความสะดวกและลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อลดความยุ่งยากในการบำรุงรักษาฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูลได้ ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องได้รับการดีไซน์ให้เหมาะสมกับทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น หน่วยความจำ (Memory) ก็ต้องมีให้เพียงพอ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็จะต้องมีระบบบริหารฐานข้อมูล (DBMS หรือ Data Base Management System) มาเป็นตัวกลาง เพื่อที่จะเชื่อมโยงระหว่างระบบงานคอมพิวเตอร์กับฐานข้อมูล


    ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >> http://www.bcoms.net/system_analysis/lesson76.asp 

    ..ศิริพร ประวิสารัตน์..