วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ

การออกแบบระบบมักจะใช้รูปภาพและสัญลักษณ์   เครื่องมือที่ใช้มีอยู่มากมายหลายชนิดแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน  ใช้ในโอกาสแตกต่างกัน  เครื่องมือแต่ละอย่างมีวิธีการสร้างคุณสมบัติ  และการใช้งานที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์ระบบว่าจะนำไปใช้ในขั้นตอนใดซึ่งจะต้องศึกษาคุณสมบัติของเครื่องมือนั้นให้เข้าใจเพื่อที่จะได้นำ  ไปใช้อย่างถูกขั้นตอนและถูกต้องตามวิธีใช้งานของเครื่องมือแต่ละชนิด
แผนภูมิ Block Diagram
เป็นแผนภูมที่มีลักษณะของการใช้ Block Diagram ในการเขียนแผนภูมิการจัดองค์กร (Organization Chart)  ต่าง ๆ หรือใช้แทนความคิดที่ต้องการจะทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเขียนเป็นแผนภูมิของกิจกรรมต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น 
การใช้ Block Diagram ในการเขียนแผนภูมิการจัดองค์กร (Organization Chart) ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้น ๆ มีการจัดแบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ อะไรบ้างและแบ่งอย่างไร เช่น แบ่งออกเป็นฝ่ายแบ่งเป็นแผนก เป็นหน่วย มีงานอะไรบ้าง กี่หน่วยงานและหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางสายการบังคับบัญชากันอย่างไรเป็นต้น

                แผนภูมิการจัดองค์กร  (Organization Chart)
เป็นแผนภูมิที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้น ๆ มีโครงสร้างหรือการจัดแบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ อะไรบ้างและแบ่งอย่างไร  เช่น  แบ่งออกเป็นฝ่าย เป็นหน่วยงานอะไรบ้าง กี่หน่วยงาน และหน่วยงานเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ในสายการบังคับบัญชากันอย่างไร  รวมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์ของแต่ละตำแหน่ง  ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบสามารถใช้แผนภาพองค์กรนี้ในการสัมภาษณ์  และสอบถามข้อมูลจากบุคคลต่าง ๆ ในองค์กรได้  เนื่องจากแผนภาพนี้แสดงถึงโครงสร้างขององค์การอย่างเป็นทางการ  แต่ความสัมพันธ์ที่แท้จริงของแต่ละตำแหน่งในทางปฏิบัติงานจริงอาจมีความแตกต่างกันบ้าง  นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องศึกษาและสอบถามจากบุคคลต่าง ๆ ในองค์กร

               แผนภาพการแจกจ่ายงาน  (Work Distribution Chart)
เป็นแผนภาพแสดงการแจกจ่ายงาน  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงงานต่าง ๆ  ที่ต้องกระทำว่ามีอะไรบ้าง  ใครเป็นผู้ทำ  และใช้เวลาเท่าใด รวมทั้งยังช่วยผู้บริหารโครงการแจกจ่ายงานให้แต่ละบุคคลได้อย่างทั่วถึงและสมดุล

งาน/บุคคล
สมศิริ
Assistance
Manager
ปิยะฉัตร
Purchasing
Supervisor
นงลักษณ์
Purchasing Clerk
พรทิพย์
Store
Receiver
การสั่งซื้อสินค้า

ตรวจสอบตาคา
และจำนวนที่สั่ง
(10)
พิมพ์ใบสั่งซื้อ (5)

การตรวจสอบ
ตรวจสอบและ
อนุมัติใบสั่งซื้อ
ตรวจทานใบสั่งซื้อ(2)


การรับสินค้า



ตรวจสอบสินค้าที่รับกับรายการที่สั่ง (15)
อื่น ๆ
จัดการประชุม(10)
ดูรายละเอียดปลีกย่อย (15)
จัดเก็บเอกสารการ
สั่งซื้อ (10)
จัดเก็บเอกสารการ
รับของ (10)
ภาพแสดงแผนภาพการแจกจ่ายงาน 

               แผนภูมิ  Gantt chart  (Gantt’s  Chart)
เป็นแผนภูมิแท่งชนิด  Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt  chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ  ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น  บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้  อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามาถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร

 

              ปฏิทินการปฏิบัติงาน  (Time Schedule and Time  Table)
เป็นปฏิทินในรูปลักษณะของตาราง ซึ่งแสดงถึงงานที่ต้องทำ วันที่ที่เริ่มทำงานและ  วันที่ที่ทำงานแล้วเสร็จ


กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ
เริ่มทำงานวันที่
สิ้นสุดการทำงานวันที่
การวิเคราะห์ระบบงานทะเบียน
1 ม.ค.  2548
15  ม.ค.  2548
การออกแบบระบบ
10  ม.ค.  2548
10  ก.พ.  2548
การพัฒนาระบบงานทะเบียน
15  ก.พ.  2548
31  ม.ค.  2548
การทดสอบปรับปรุงแก้ไขระบบ
15  ม.ค.  2548
15  เม.ย.  2548
การบำรุงรักษาระบบ
15  ม.ค.  2548
--------


รายละเอียดเพิ่มเติม  http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_Analyse/unit7.html

ณัฐฐิญา   ราญรอน

2 ความคิดเห็น:

  1. ในการทำ โครงสร้างองค์กร จะทำให้เราทราบว่าองค์กรที่เราจะไปทำหรือศึกษานั้นมีโครงสร้างอย่างไร เราจะไปแก้ไขหรือไปพัฒนางานในส่วนไหน ซึ่งการทำโครงสร้างองค์กร เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำโปแกรม เพื่อที่เราจะได้ทราบรายละเอียดต่างๆของหน่วยงานนั้น หรือส่วนงานนั้นที่เราจะศึกษา

    และในส่วนของ gantt chart จะเป็นการวางแผนการทำงานของเราว่าควรใช้เวลาเท่าไหรในการทำในส่วนไหน ถ้าทำได้ตามที่เรากำหนด ก็จะตรงตามแผน

    ตอบลบ
  2. เห็นด้วยกับนานะ เพราะในการที่เราทำโครงสร้างขององค์กร มันทำให้เรามองเห็นระบบทั้งหมดขององค์กร สามารถทำให้เราวิเคราะห์หาปัญหาที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างๆขององค์กรได้ ดังนั้นเราก็จะแก้ไขและพัฒนางานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เข้าถึงส่วนของระบบย่อยได้อย่างถูกจุดด้วย

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น