การดีไซน์เอาต์พุตทางจอภาพ
|
การดีไซน์เอาต์พุตที่ออกทางจอภาพ (Disigning Screen Output) จะมีข้อแตกต่างกับเอาต์พุตที่ออกจาเครื่องพิมพ์อยู่หลายจุดด้วยกันคือ สำหรับจอภาพ (Screen) นั้น ข้อมูลที่แสดงออกมานั้นจะไม่ติดตายตัว (Permanect) เหมือนกับการใช้เครื่องพิมพ์พิมพ์รายงาน ลักษณะของเอาต์พุตจึงมีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดคือการออกเอาต์พุตทางจอภาพเหมาะสำหรับผู้ใช้ระบบที่ต้องมีจอภาพด้วย เราไม่สามารถจะแจกจ่ายเอาต์พุตให้กับผู้ใช้อื่นที่ขาดอุปกรณ์ดังกล่าวได้การที่กล่าวว่าจอภาพมีความยืดหยุ่นในการแสดงข้อมูลสูงกว่าเครื่องพิมพ์ จะหมายถึงความสามารถที่จะลบข้อมูลออกไปแล้วใส่ข้อมูลใหม่ได้ ความสามารถในการที่เลื่อนข้อมูลขึ้นลง (Scroll) หรือเลื่อนไปทางซ้ายหรือทางขวา หรือการเก็บตำแหน่งของข้อมูลบนจอภาพ (Save Screen) ไว้ชั่วคราว แล้วดึงออกมาแสดงใหม่ (Restore Screen) ในภายหลัง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความสามารถเฉพาะตัวของการแสดงผลทางจอภาพเลยทีเดียว จากการที่จอภาพมีความสามารถในการทำงานหลายด้าน จึงจำเป็นอยู่เองที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำให้ผู้ใช้ระบบสามารถที่จะควบคุมจอภาพบางประการตามที่เขาต้องการได้ เช่น หากผู้ใช้ต้องการพิมพ์ข้อมูลออกทางจอภาพ ระบบงานอาจจะต้องพิมพ์ออกทีละ 24 บรรทัด และในบรรทัดที่ 25 อาจจะต้องถามผู้ใช้ระบบเสียก่อนว่า "กรุณากด (C) = ดำเนินการกด หรือกด (S) = หยุดงาน" ลักษณะเช่นนี้เป็นตัวอย่างที่ผู้ใช้ระบบมีความสามารถที่จะควบคุมจอภาพให้พิมพ์รายงานต่อออกทางจอภาพ เมื่อกด (C) และเมื่อต้องการจะหยุด ก็สามารถทำได้โดยการกด (S) ข้อแนะนำในการดีไซน์จอภาพ ข้อแนะนำเกี่ยวกับการดีไซน์จอภาพอยู่ 4 หัวข้อ โดยสรุปจะได้ดังนี้ 1. พยายามให้การแสดงข้อมูลบนจอภาพดูเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน 2. พยายามให้การแสดงบนจอภาพมีมาตรฐานแบบเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความคุ้นเคยได้เร็ว 3. สำหรับข้อมูลบางอย่างที่ต้องการจะเน้นให้เห็นถึงความแตกต่าง ให้ใช้สีที่แตกต่างออกไปจากปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ 4. ให้การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ระบบกับจอภาพเป็นไปโดยธรรมชาติมากที่สุด เช่น การเลื่อนเคอร์เซอร์ (Cursor Movement) ควรจะเลื่อนจากบนลงล่างหรือจากซ้ายมาขวา ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติและมาตรฐานสากล เป็นต้น การดีไซน์ลงแบบฟอร์มสำหรับดีไซน์จอภาพ (Screen Layout) มีลักษณะเช่นเดียวกับการดีไซน์ลงในแบบฟอร์มสำหรับรายงาน (Report Layout) แบบฟอร์มสำหรับดีไซน์จอภาพจะมีขนาดเล็กกว่า เนื่องมาจากโดยปกติจอภาพทั่วไปจะมีความกว้าง 80 ตัวอักษร และมีความยาวได้เท่ากับ 25 บรรทัด ซึ่งโดยปกติ เราจะพบว่าแบบฟอร์มสำหรับการดีไซน์จอภาพจอให้เรากรอกได้ 24 บรรทัด เหตุที่เป็นเช่นนี้มักจะเกิดจากการที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์บางชนิดจะสงวนบรรทัดไว้ 1 บรรทัดสำหรับแสดงผลเฉพาะระบบปฏิบัติการเท่านั้น ดังนั้น บรรทัดในการดีไซน์จึงได้หายไป จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้โปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบเองพยายามหลีกเลี่ยงการใช้บรรทัดที่ 1 หรือบรรทัดที่ 25 อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อลดปัญหาการแสดงข้อมูลที่อาจจะไปทับกับข้อความที่แสดงโดยระบบปฏิบัติการดังที่กล่าวมาแล้ว ในการดีไซน์จอภาพลงในฟอร์มนั้น เรายังคงยึดวิธีเดียวกันกับการดีไซน์รายงาน นั่นก็คือเราจะใช้ตัวอักษร X แทนข้อมูลตัวแปรที่เป็นตัวอักษร และ 9 แทนข้อมูลตัวแปรที่เป็นตัวเลข ส่วนข้อมูลใดที่เป็นข้อมูลตายตัว (Fixed) หรือเป็นค่าคงที่ (Constant) เราก็จะเขียนเข้าไปโดยตรงในแบบฟอร์มนั้นเลย จันทร์วาริวิภา แจ่มจันทร์ 52040774 |
แม้ว่าจะดีไซน์การแสดงผลออกทางจอภาพมาดีเพียงใด แต่บางครั้งเวลาสั่งพิมพ์มักจะคลาดเคลื่อนอยู่ดี ซึ่งมันก็ทำให้ผู้พัฒนาเหนื่อยด้วยเหมือนกัน เคยใช้โปรแกรม express accounting ที่หน้าจอแสดงการพิมพ์รายงานไม่มีระเบียบเรียบร้อย ตัวหนังสือชิดซ้ายขวามั่วไปหมด แต่พอสั่งพิมพ์ มันกลับสวยงามเรียบร้อยซะอย่างงั้นอ่ะ เลยไม่ค่อยเข้าใจ ทำไมมันเป็นแบบนั้น ก็แปลกๆดี
ตอบลบหรืออาจจะเป็นลักษณะที่แตกต่างกันของหลายๆโปรแกรมทำให้การออกแบบ output มีความแตกต่างกันไป
ตอบลบ(นายภาณุวัฒน์ ง้วนประเสริฐ 52040797)
ตอบลบเราคิดว่า มันก็ขึ้นอยู่กับ Hardware ด้วยเช่นกัน เช่นหน้าจอ ที่มีความยาว ความกว้างแตกต่างกันไป ก็ส่งผลให้เราเห็นเอาท์ที่ออกมาดูคลาดเคลื่อน